ชื่อเรื่อง: ยาหอมเทพจิตรกับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลพนา อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ
ชื่อผู้วิจัย: นายธานี สุขไชย ตำแหน่ง แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ กับ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล
รูปแบบการนำเสนอ : โปสเตอร์วิชาการ R2R Pilot Study
สาขา ด้านส่งเสริมสุขภาพศาสตร์การแพทย์แผนไทย
บทนำและวัตถุประสงค์ : โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลก ในช่วง พ.ศ. 2543-2550 สำหรับในประเทศไทย ทั้งนี้พบว่าประชากรที่ไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้นั้นสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไตเรื้อรังเพิ่มขึ้น นำมาซึ่งภาวะทุพลภาพและอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าประชากรที่มีภาวะก่อนความดันโลหิตสูง (prehypertension) ซึ่งตามคำจำกัดความของ (JNC 7) คือ มีความดันโลหิตซิสโตลิก ระหว่าง 120-139 mmHg หรือความดันโลหิตไดแอสโตลิกระหว่าง 80-89 mmHg นั้นสัมพันธ์กับการเกิดโรคอื่นๆ อีกทั้งการสำรวจในประชากรไทยพบความชุกของภาวะก่อนความดันโลหิตสูงร้อยละ 36.71 การให้บริการแพทย์แผนไทย นั้นทุกครั้งมีการให้บริการจะพบผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นจำนวนมาก โรงพยาบาลพนาจึงร่วมกับ สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในการศึกษาประสิทธิผลของยาหอมเทพจิตรในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง ในช่วงระหว่าง เดือนกรกฎาคม ถึง เดือนกันยายน พ.ศ.2558 มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แผนปัจจุบัน เข้ารับการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ซึ่งแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยประยุกต์ได้ให้การรักษาโดยการจ่ายยาสมุนไพร คือ ยาหอมเทพจิตร และมีรวบรวมบันทึกติดตามผลการรักษาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงต่อเนื่อง
วิธีการศึกษา : เก็บข้อมูลผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โดยใช้วิธีการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่รับประทานยาสมุนไพร จำนวน 23 ราย โดยนัดมาติดตามผลการรักษาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ติดตามต่อเนื่อง 8 ราย
ผลการศึกษา: การติดตามผลการรักษาผู้ป่วย 8 ราย ใช้ระยะเวลาในการติดตามผลการรักษาเป็นเวลา 2 สัปดาห์เท่านั้น ทำให้ยังไม่สามารถสรุปแน่ชัดว่าการรักษาโดยการใช้ยาสมุนไพร สามารถลดค่าความดันโลหิตได้อย่างมีประสิทธิผลมากน้อยเพียงใด และมีผลข้างเคียงจากการใช้ยาในระยะยาวหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาการใช้ยาสมุนไพรเพื่อการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในครั้งนี้มีแนวโน้มในการลดค่าความดันโลหิตทั้งค่า SBP, DBP ในทิศทางที่ดีขึ้น จากผู้ป่วยที่เก็บข้อมูลทั้งหมด 8 ราย ผู้ป่วยทุกรายมีค่าความดันโลหิต ทั้ง SBP, DBP ลดลง ผู้ป่วย 2 ราย มีการเปลี่ยนแปลงระดับความดันโลหิตจากระดับ Stage 1 hypertension เป็นระดับ Prehypertension ผู้ป่วย 1 ราย มีการเปลี่ยนแปลงระดับความดันโลหิตจากระดับ Stage 1 hypertension เป็นระดับ normal ผู้ป่วย 3 ราย มีการเปลี่ยนแปลงระดับความดันโลหิตจากระดับ Prehypertension เป็นระดับ normal และอีก 1 ราย อยู่ในระดับ Prehypertension คงเดิม1
ผู้ป่วยจำนวน 3 ราย อาการนอนไม่หลับหายไป นอนหลับสนิทดีขึ้น ลดลง ผู้ป่วยจำนวน 2 ราย อาการวิงเวียน และอาการมึนศีรษะลดลง ผู้ป่วยอีก 3 รายไม่มีอาการใดๆเปลี่ยนแปลง และในผู้ป่วยทุกรายไม่มีผลข้างเคียงจากการใช้ยาสมุนไพรในครั้งนี้
ข้อเสนอแนะ: การศึกษาติดตามประสิทธิผลการใช้ยาหอมเทพจิตรต่อเนื่อง เพิ่มกลุ่มเป้าหมายในการศึกษามากขึ้น รวบรวมเป็นเชิงวิชาการต่อไป