ผ้าขาวม้ากับยาพอกสมุนไพรบำบัดโรคข้อเข่าเสื่อม

1. ชื่อผลงาน/โครงการพัฒนา:ผ้าขาวม้ากับยาพอกสมุนไพรบำบัดโรคข้อเข่าเสื่อม
2. คำสำคัญ:ผ้าขาวม้ากับยาพอกสมุนไพรบำบัดโรคข้อเข่าเสื่อม
3.สรุปผลงานโดยย่อ:โรคข้อเข่าเสื่อมซึ่งถือว่าเป็นโรคที่พบมากในผู้สูงอายุ ซึ่งจะเป็นปัญหาและอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวันและเป็นภาระในการดูแลของคนในครอบครัว อีกทั้งยังมีปัญหาในการเดินทางมารับบริการศูนย์แพทย์แผนไทย โรงพยาบาลพนา จึงได้คิดค้นวิธีการรักษา บำบัดผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมเพื่อลดและบรรเทาอาการปวดข้อเข่า และเพื่อเป็นการพึ่งตนเองโดยใช้สมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดประโยชน์ ด้วยการพัฒนาสูตรยาสมุนไพรพอกเข่า และได้ดำเนินกิจกรรมเชิงรุกให้บริการโดยการค้นหากลุ่มเสี่ยงภาวะเข่าเสื่อมและปฏิบัติในกลุ่มจิตอาสาสอนให้ดูแลตนเองในชุมชน
4. ชื่อและที่อยู่ขององค์กร:ศูนย์แพทย์แผนไทยโรงพยาบาลพนา เลขที่ 225 หมู่ 10 ต.พระเหลา อ.พนา จ.อำนาจเจริญ 37180
5. สมาชิกทีม:ศูนย์แพทย์แผนไทย รพ.พนา
6. เป้าหมาย:
6.1 มีรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในชุมชนที่มีประสิทธิภาพเท่าเทียมหรือมากกว่ารูปแบบการดูแลแบบเดิม
6.2 ลดค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในชุมชนมากกว่ารูปแบบเดิม
7.ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ:จากเดิมใช้ก๊อซในการพอกเข่าซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองเนื่องจากเป็นการใช้แล้วทิ้ง ทำให้ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการพอกเข่าค่อนข้างมากและอาสาสมัครต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เอง ทางคณะผู้จัดทำโครงการได้เล็งเห็นถึงปัญหานี้จึงนำผ้าขาวม้ามาประยุกต์ใช้แทนเพื่อให้อาสามมัครประหยัดค่าใช้จ่าย
8. กิจกรรมการพัฒนา:
 คัดกรองผู้ป่วยโรคเข่าเสื่อม 200 ราย เข้าเกณฑ์ 50 ราย
 ผู้ป่วยสมัครใจเข้าร่วมโครงการ 30 ราย
โดยมีเกณฑ์การวินิจฉัยทั้งหมด5 ข้อ ผู้ป่วย อายุ 60 ปีขึ้นไปสามารถเข้าได้ตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไปจะถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม
1)ข้อเข่าฝืดหลังตื่นนอนนาน 30 นาที
2)มีเสียงดังกรอบแกรบขณะเคลื่อนไหว
3)กดเจ็บที่ข้อเข่า
4)ข้อใหญ่ผิดรูป
5)มีอาการปวด บวม แดงร้อนที่เข่าและเป็นทั้งสองข้าง
 เตรียมสมุนไพร วัสดุ/อุปกรณ์ในการพอกเข่า

วัสดุ/อุปกรณ์
– ผ้าก๊อซและสำลี
– ผ้าขาวม้าขนาด 5 X 5 นิ้วและขนาด 5 X 25 นิ้วอย่างละ 2 ชิ้น/คน
สมุนไพร
สมุนไพร สัดส่วน
ไพลสด 2
ข่าแก่ 2
แป้งข้าวเหนียว 1
เหล้าขาว 40 ดีกรี พอประมาณ

 ขั้นตอนการพอกยาสมุนไพร
-เช็ดทำความสะอาดข้อเข่าข้างที่ต้องการพอก
-พอกเข่าด้วยยาสมุนไพร จากนั้นใช้ผ้าขาวม้าหรือผ้าก๊อซพันข้อเข่า นาน 30 นาที ทำเช้า – เย็น ติดต่อกัน 1 เดือน
ดำเนินโครงการไประยะ 1 สัปดาห์แรกโดยการใช้ผ้าก๊อซ (ใช้แล้วทิ้ง)
สัปดาห์ที่ 2 จนสิ้นสุดโครงการ ใช้ผ้าขาวม้า 5×5 และ 5×25 นิ้ว (Reuse)
ติดตามประเมินผลทุกสัปดาห์

9. การประเมินผลและการเปลี่ยนแปลง
9.1 เปรียบเทียบต้นทุนในการใช้ผ้าก๊อซและผ้าขาวม้าในการพอกเข่า ในระยะเวลา 1 เดือน
การใช้ผ้าก๊อซพันและสำสีในการพอกข้อเข่าจะต้องเสียค่าใช้จ่าย 298 บาท/คน/คอร์ส ซึ่งค่อนข้างเป็นปัญหาในการรักษาเนื่องจากผู้ป่วยต้องออกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เองทั้งหมดทางโครงการไม่มีงบประมาณในการสนับสนุน เมื่อดำเนินโครงการไปได้ 1 สัปดาห์ ทางผู้จัดทำโครงการได้เล็งเห็นถึงปัญหาในด้านนี้จึงปรับเปลี่ยนมาใช้ผ้าขาวม้าแทน ซึ่งผ้าขาวม้าสามารถใช้แล้วซักได้ตลอดระยะเวลาการรักษาด้วยการพอกเข่า ทำให้ผู้ป่วยจ่ายเงินเพียง 50 บาท/คน/คอร์ส

ค่าใช้จ่ายในการใช้ผ้าก๊อซพันและสำสี ค่าใช้จ่ายในการผ้าขาวม้า
298 บาท 50 บาท

9.2 ผลการประเมินความเจ็บปวดก่อนและหลังการรักษาด้วยวิธีพอกเข่า
ก่อนการพอกเข่าทำการวัดความเจ็บปวดในอาสาสมัครโดยใช้ Pain score พบว่า เฉลี่ยแล้วมีระดับความเจ็บปวดอยู่ที่ 7 ซึ่งเป็นระดับการปวดที่ค่อนข้างมาก (Severe pain)หลังจากการพอกเข่า 1 และ 2 สัปดาห์ Pain score เฉลี่ยเท่ากับ 5 ปวดระดับปานกลาง (Moderate Pain)หลังจากการพอกเข่า 3 และ 4 สัปดาห์ Pain score เฉลี่ยเท่ากับ 3 และ 2 ตามลำดับ ซึ่งเป็นระดับการปวดที่เล็กน้อย (Mild Pain)

รูปที่ 7ผลการรักษาก่อนและหลังของการพอกเข่า
9.3 ข้อด้อย/จุดที่ควรพัฒนาในอนาคต
การประเมินผลโดย Pain score ไม่ได้แยกผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้ผ้าก๊อซและกลุ่มที่ใช้ผ้าขาวม้าทำให้ไม่สามารถประเมินผลได้ว่าแท้จริงแล้วมีความแตกต่างกันในด้านประสิทธิภาพในการรักษาโรคหรือไม่ ผ้าก๊อซและผ้าขาวม้าสามารถใช้ทดแทนกันได้หรือไม่ (ปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น เส้นใย ความหนามีผลต่อการดูดซึมยาหรือไม่) ดังนั้นในอนาคตอาจจำเป็นต้องทำการทอดลองโดยออกแบบให้มีกลุ่มอาสาสมัคร 2 กลุ่ม เพื่อที่จะได้ข้อมูลที่ชัดเจนด้านประสิทธิภาพของการรักษา

บทเรียนที่ได้รับ
ได้ทำงานร่วมกันเป็นทีม
ได้บุคคลต้นแบบในการพอกเข่าของชุมชน
ชุมชนสามารถพึงพาตนเองได้โดยการนำสมุนไพรที่มีในชุมชนมาใช้เพื่อการรักษาตนเอง
ลดการใช้ยาแผนปัจจุบัน
ในอนาคตมีแผนที่จะขยายการพอกเข่าให้ครอบคลุมทุกชุมชนในอำเภอพนา

การติดต่อกับทีมงาน: นางศิริวรรณ เที่ยงตรง E-mail: Tun_2508@hotmail.com โทร 084-8291997